วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 4

Platter
เป็น ส่วนที่เป็นแผ่นวงกลมที่เห็นดังรูปทำหน้าที่ในการบันทึกข้อมูลที่ต้องการโดย จานแม่เหล็กจะถูกเคลือบด้วย Glass substrateโดยการบันทึกหรืออ่านข้อมูลจะใช้หัวอ่าน/เขียนข้อมูล


Spindle motor

จะเป็นส่วนที่ใช้ยึดแผ่นPlatterแต่ละอันและจะมี Spindle Motorเป็นตัวหมุนแผ่น Platter แต่ละอันด้วยความเร็วตามที่กำหนดไว้โดยมีหลายความเร็วที่ใช้อยู่โดยขึ้นอยู่ กับคุณสมบัติแต่ละรุ่นของ Harddiskโดยความเร็วที่ใช้อยู่ ตัวอย่างเช่น 7,200 รอบต่อวินาที 5,400 รอบต่อวินาที เป็นต้น
ชนิดของหัวอ่าน/เขียนข้อมูล
 1. แบบแกนเฟอร์ไรต์(Ferrite Heads)จะใช้ใน harddiskรุ่นแรกๆโดยหัวอ่านจะมี เส้นทองแดงพันรอบแกนเฟอร์ไรต์
2. แบบ Thin-film แบบนี้หัวอ่านที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีขนาดเล็กกว่าโดยใช้ เทคโนโลยีของIC นำมาสร้างหัวอ่านแบบเวเฟอร์ที่ใช้อยู่โดยใช้เส้นทองแดงเดินรอบๆแผ่น เวเฟอร์นั้นทำให้มีขนาดของหัวอ่าน/เขียนมีขนาดเล็กลงและยังมีข้อดีคือทำให้ ความหนาแน่น ในการบันทึกข้อมูลของแผ่น Platterเพิ่มขึ้นในขนาดแผ่น Platter เท่าเดิม

 
Actuator
คือแขนของ หัวอ่าน/เขียนข้อมูลเป็นชิ้นส่วนที่ใช้ยึดติดกับหัวอ่าน/เขียนข้อมูลโดยตรง ปลายแขนของมันซึ่งคุณสมบัติการเข้าค้นหาและเข้าถึงข้อมูลของhaddisk(seek time) ก็จะวัดจากการส่วนนี้
Actuator Arm หรือ Head Arm
แขนกลที่ติดตั้งหัวฮาร์ดดิสก์ เรียกว่า Head Slider ซึ่งตัว Slider นั้นมีรูปร่างคล้ายกับยอดแหลมของเรือใบโดยมีจุดกึ่งกลางที่มีไว้เป็นตัวนำพาหัวอ่าน/เขียนของฮาร์ดดิสก์ให้วิ่งไปมาเหนือจานฮาร์ดดิสก(Disk Platter)
ขนาดมาตรฐานของ Slider โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 0.08 x 0.063 สำหรับฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว ขนาดของ Slider นี้ ถูกเรียกว่า "Nano Slider" เนื่องจากมีขนาดเล็ก 


Platters,Slider Head,Read
Read/Write Head หรือหัวอ่าน/เขียนของฮาร์ดดิสก์ มีไว้เพื่อการอ่านและเขียนข้อมูลลงบนจานฮาร์ดดิสก์ (Disk Platter) ปกติจำนวนของหัว Read/Write นั้นขึ้นอยู่กับจำนวนของจาน Disk Platter ซึ่งหมายความว่า ฮาร์ดดิสก์ที่มี 2 จาน Platter จะต้องมีหัว Read/Write นี้ถึง 2 หัว (หัวบนและหัวล่างต่อ 1 จานฮาร์ดดิสก์ (Disk Platter)) แต่ก็ไม่เป็นเช่นนี้เสมอไป
ปกติหัวฮาร์ดดิสก์ หรือ Read/Write Head นี้จะต้องไม่แตะต้องกับจานฮาร์ดดิสก์ ขณะที่มีการทำงานปกติ แต่เมื่อใดที่ฮาร์ดดิสก์หยุดการทำงาน หัวฮาร์ดดิสก์นี้จะสัมผัสกับจาน Disk Platter เนื่องจากว่า สาเหตุที่หัวฮาร์ดดิสก์สามารถลอยตัวอยู่เหนือจานฮาร์ดดิสก์ (Disk Platter) ได้ เนื่องจากแรงกระพือของลมที่อยู่ภายในตัวฮาร์ดดิสก์ ขณะที่จานหมุนจะช่วยยกหัวฮาร์ดดิสก์ให้ลอยตัวขึ้นจากจาน Disk Platter ได้

ระดับความสูงของหัวฮาร์ดดิสก์ ที่ลอยเหนือจานฮาร์ดดิสก์ (Disk Platter) จะอยู่ที่ประมาณ 200-300 ไมโครนิ้วเท่านั้น แต่ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้หัวอ่านลอยอยู่เหนือจาน Disk Platter เพียง 3-5 ไมโครนิ้วเท่านั้น

SCSI Interface Connector
Cable กับ Connectors มีไว้เพื่อการเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดดิสก์กับคอมพิวเตอร์หลัก จุดประสงค์ก็เพื่อการถ่ายเทข้อมูลไปมาระหว่างฮาร์ดดิสก์กับคอมพิวเตอร์ ขนาดของ Connector ขึ้นอยู่กับขนาดของฮาร์ดดิสก์ ดังนี้ 

HDD ระบบ IDE/EIDE มีขนาด Connector 40 Pins 
HDD ระบบ SCSI-1 หรือ SCSI-II หรือ Fast SCSI ต่างใช้ 50 Pins 
HDD ระบบ Wide SCSI มี Connector ขนาด 60 Pin

Base Casting
Base Casting คือ ฐานรองรับส่วนประกอบต่างๆ ของHard Disk ทั้งหมด มีัลักษณะพลาสติกแข็งทนทานต่อความร้อน
 
Tape Seal 
Tape Seal คือ ตัวยึดเหนี่ยวความแข็งแรงของ Hard Disk ไว้ทั้งหมด
ประเภทของHard Disk 


ฮาร์ดดิสก์แบบ IDE (EIDE)

ฮาร์ดดิสก์ที่เรียกว่าแบบ IDE ปัจจุบันเป็นแบบ EIDE (Enhanced Integrated Drive Electronic) ทั้งสิ้น โดยพัฒนาต่อจากแบบ IDE เดิม ซึ่งมีข้อจำกัดไม่สามารถทำงานร่วมกับฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุไม่เกิน 528 MB ได้
ฮาร์ดดิสก์ในมาตรฐานนี้มีหลายความเร็วได้แก่ Ultra ATA (Ultra DMA)/33,/66,/100,/133ซึ่งมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล33,66,100,133, MB/s ตามลำดับฮาร์ดดิสก์แบบ ATA/33 จะเชื่อมต่อกับเมนบอร์ดด้วยสายแพแบบ 40 เส้นส่วนฮาร์ดดิสก์ ATA/66/100/133 จะเชื่อมต่อด้วยสายแพแบบ 80 เส้นโดยปกติบนเมนบอร์ดจะมีช่องต่อ IDE มาให้ 2 ช่องคือ IDE1 และ IDE2ซึ่งแต่ละช่องต่อจะติดตั้งฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ลูกซึ่งแต่ละลูกจะต้องกำหนดลำดับโดยจัมเปอร์เป็น “Master”และ“Slave” ให้ถูกต้องจึงจะใช้งานฮาร์ดดิสก์นั้นได้

ฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI
ย่อมาจาก Small Computer Interface เป็นฮาร์ดดิสก์ซึ่งมีความเร็วสูงสามารถรับส่งข้อมูลได้เกินกว่า 160 MB/s จะต้องใช้ร่วมกับตัวควบคุมที่มีลักษณะเป็นการ์ดเสริมโดยในช่วงแรกใช้สายแพเชื่อมต่อกับการ์ดแบบ 50 เส้น แต่ต่อมาก็ได้มีการพัฒนามาเป็นมาตรฐาน SCSI 2  และ 3 ได้เปลี่ยนมาใช้สายแพสำหรับเชื่อมต่อซึ่งเป็นแบบ 68 เส้น
การ์ดเสริม (SCSI) นอกจากจะใช้เชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI ได้แล้ว ยังสามารถใช้พ่วงต่อกับอุปกรณ์ SCSI อื่นๆได้อีกรวม 7-15 ตัว แต่เนื่องจากมีราคาแพงและต้องใช้ร่วมกับการ์ดควบคุม (SCSI Card) จึงนิยมใช้งานเฉพาะกับเครื่อง Server สำหรับควบคุมเครือข่าย

ฮาร์ดดิสก์แบบ Serial ATA

ฮาร์ดดิสก์แบบ SATA เป็นอินเตอร์เฟสรูปแบบใหม่ที่ใช้การรับส่งข้อมูลในแบบอนุกรม (IDE ใช้การรับส่งข้อมูลในแบบขนาน) จึงทำให้สามารถเพิ่มความเร็วได้มากกว่าแบบ IDE โดย Serial ATA 1.0 สามารถส่งข้อมูลได้ความเร็วสูงถึง 150MB/s และจะสูงถึง 300 และ 600 MB/s ใน SATA เวอร์ชั่น 2 และ 3 ต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น